วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเทศเวียดนาม


ภูมิศาสตร์ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีรูปร่างตัวเอส ลักษณะเป็นแนวยาว จึงทำให้ทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศแตกต่างกว่าประเทศอินโดจีนอื่นๆ
สภาพภูมิประเทศ

 ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มีลักษณะเป็นแนวยาว โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน และมีหมู่เกาะต่างๆ อีบพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
 เวียดนามมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงอยู่ทางตอนเหนือและที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ทางตอนใต้ และตอนเหนือของประเทศมีที่ราบสูง มีภูเขาฟาน ซี ปัง  ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน มีความสูงถึง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต) ตั้งอยู่ในจังหวัดเลาไค

 ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งเขตเป็น 3 ภาค ดังนี้
 1.ภาคเหนือ
มีภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูง มีแม่น้ำกุง ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
 2.ภาคกลาง
ยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้สำคัญที่สุดของเวียดนาม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม-เมษายน)
 3.ภาคใต้
มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และมีที่ราบลุ่มสำคัญ คือ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กู๋ลองยางซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม


ภูมิอากาศ

เวียดนาม อยู่ในเขตลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ อากาศในเวียดนามมี 2 ฤดู คือ ฤดูหนาวและ ฤดูร้อน

ฤดูหนาว   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ตอนเหนือของเวียดนามมีกระแสลมจากขั้วโลกเหนือพัดผ่าน ทำให้อากาศเย็นจนถึงเย็นจัด (อุณหภูมิต่ำสุด 0 องศา) 

ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ช่วงที่อากาศร้อนที่สุดคือ เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในฤดูร้อนมักมีลมพายุและฝนตกหนัก ในภาคเหนือเ่เละภาคกลางมักมีพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดความเสียหายบ่อย ๆ

ภาคกลางของเวียดนาม อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค เช่น ในจังหวัดที่อยู่ตอนเหนือของภาค อากาศดีแถบบริเวณสันดอนปากแม่น้ำแดง ส่วนทางตอนใต้ของภาคกลางมีอากาศแบบสันดอนปากแม่น้ำโขงคือ มีฝนชุกและฤดูฝนยาวนานกว่าภาคอื่น

ภาคใต้ของเวียดนาม มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (เดือนมีนาคมถึงเมษายน)











เมืองหลวงประเทศกัมพูชา



ประวัติ กรุงฮานอย 

ฮานอย เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงานหัตถกรรม
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง
        "ฮานอย" หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า "ทังล็อง" แปลว่า "มังกรเหิน" จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนของฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน







พระมหากษัตริย์


จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย 
ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13 และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2488 ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอันนัมในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งขณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ในช่วงนี้พระองค์ทรงได้รับความคุ้มครองจากฝรั่งเศสโดยอินโดจีนของฝรั่งเศส พระองค์ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2475 เมื่อมีพระชนมายุ 19 พรรษา ต่อมาญี่ปุ่นได้ทำการขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนนี้ในปีพ.ศ. 2488 และใช้อำนาจการปกครองผ่านจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในช่วงนี้พระองค์ทรงตั้งชื่อประเทศใหม่ว่า "เวียดนาม" พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม
พระองค์ทรงเป็นหัวหน้ารัฐในเวียดนามใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 จนกระทั่ง พ.ศ. 2498 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงมีความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสและเสด็จประทับต่างประเทศบ่อยครั้ง นายโง ดิ่ญ เสี่ยม นายกรัฐมนตรีได้ขับไล่พระองค์ในการลงประชามติปลดจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากราชบัลลังก์เมื่อปีพ.ศ. 2498


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 [15]

แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991





เกษตรกรรมมีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย 
(ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 
ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์










ผลผลิตที่สำคัญ
    
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ
 การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย


อุตสาหกรรมที่สำคัญเวียดนาม
       
        ด้านการส่งออก ในปี 2550 เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบ 15,081 พันตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.1 คิดเป็นมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ และจีน ขณะที่เวียดนามนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจำนวน 12,554 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 คิดเป็นมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเพราะเวียดนามใช้รถยนต์และจักรยานยนต์สูงขึ้น รวมทั้งใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่างๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่านำเข้ามาจากสิงคโปร์  ที่เหลือจากจีน รัสเซีย และไทย เป็นต้น เวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบรายสำคัญของภูมิภาคในปี 2550 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 15,522 พันตัน โดยส่งออกเกือบทั้งหมด เพราะเวียดนามไม่มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศและนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ จากต่างประเทศ บริเวณที่มีน้ำมันอยู่มาก คือ สามเหลี่ยม แม่น้ำโขง







     
    สกุลเงินของประเทศเวียดนาม ด่ง


                                   


จุดแข็ง
มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ศุกร์
เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต

ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว

ประเทศกัมพูชา

ภูมิศาสตร์ประเทศกัมพูชา

         พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 75 เป็นที่ราบรอบทะเลสาบเขมรและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ติดต่อกับเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาดมเร็ย ทางเหนือคือเทือกเขาพนมดงรัก ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่สูงเชื่อมต่อกับที่ราบสูงในภาคใต้ของเวียดนาม  เทือกเขาบรรทัดทางตะวันตกเฉียงใต้มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดของกัมพูชาคือยอดเขาพนมเอารัล สูง 1,771 เมตร อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขานี้ เทือกเขาดมเร็ยเป็นเทือกเขาที่ต่อมาจากเทือกเขาบรรทัดทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ สูงระหว่าง 500 - 1,000 เมตร เทือกเขาทั้งสองนี้เป็นแนวพรมแดนด้านตะวันตก 
         ทำให้เกิดที่ราบแคบๆซึ่งประกอบด้วยอ่าวกำปงโสมที่ออกสู่อ่าวไทย บริเวณนี้ค่อนข้างโดดเดี่ยว จนกระทั่งมีการสร้างท่าเรือที่กำปงโสมและมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกำปงโสม กำปอต ตาแกว และพนมเปญเข้าด้วยกันเมื่อราว พ.ศ. 2503  
        เทือกเขาพนมดงรักเป็นเทือกเขาทางเหนือของกัมพูชามีความสูงโดยเฉลี่ย 500 เมตร โดยจุดที่สูงที่สุดสูงกว่า 700 เมตร อยู่ขอบด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราชในไทย เทือกเขานี้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จุดผ่านเทือกเขาที่สำคัญคือจุดโอเสม็ด ซึ่งเชื่อมต่อภาคเหนือของกัมพูชากับภาคอีสานของไทย   หุบเขาในเขตแม่น้ำโขงเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อระหว่างกัมพูชาและลาว และเป็นส่วนที่แบ่งระหว่างเทือกเขาพนมดงรักทางตะวันออกและที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ที่ต่ำลงมาเชื่อมต่อกับที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่แผ่ขยายไปสู่เวียดนาม ทำให้มีการติดต่อระหว่างดินแดนทั้งสองโดยสะดวก




ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
กัมพูชาเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ติดกับอ่าวไทย มีพรมแดนติดกับลาว ไทยและเวียดนาม พิกัดทางภูมิศาสตร์โดยประมาณคือ11°N 104°E11°N 104°E แนวชายแดนมีความยาวทั้งหมด 2,572 กิโลเมตร โดยติดกับเวียดนาม 1,228 กิโลเมตร ไทย 803 กิโลเมตร และลาว 541 กิโลเมตร เป็นแนวชายฝั่ง 443 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,040 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ใจกลางของประเทศเป็นทะเลาสาบเขมร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือไปใต้
ภูมิอากาศในกัมพูชาเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเขตร้อนชื้น มีฤดูฝนและฤดูแล้ง ในฤดูฝนจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียพาฝนมาตก และในฤดูแล้งจะมีมรสุมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ที่นำอากาศแห้งแล้งมาให้ ลักษณะอากาศในทะเลสาบเขมรอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25- 28°C ในฤดูร้อนอาจสูงถึง 38 °C ได้ ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร ฝนตกหนักมากทางตะวันออกเฉียงใต้และตามแนวเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ ค่าความชื้นเฉลี่ยทั้งปีค่อนข้างสูง




เมืองหลวง

 ประวัติความเป็นมาของเมืองหลวง

กรุงพนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก ช่วงกลางลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานี 
 กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา  
 ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่ เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) 
ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

ประชากร

ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศกัมพูชามีประชากร 15,205,539 คน กว่าร้อยละ 90 มีเชื้อสายเขมรและพูดภาษาเขมรอันเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศได้แก่ชาวเวียดนาม ร้อยละ 5 และชาวจีน ร้อยละ 1 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายไทยในจังหวัดเกาะกง ชาวจามในจังหวัดกำปงจามและจังหวัดกระแจะ  ชาวลาวในจังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดสตึงแตรง และชนเผ่าทางตอนเหนือต่อชายแดนประเทศลาวที่เรียกรวม ๆ ว่า แขมรเลอ  อัตราการเกิดของประชากรเท่ากับ 25.4 ต่อ 1,000 คน อัตราการเติบโตของประชากรเท่ากับ 1.7% สูงกว่าของประเทศไทย, เกาหลีใต้ และอินเดียอย่างมีนัยยะสำคัญ

กษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุกับสมเด็จพระราชินีนโรดม มุนีนาถ สีหนุ อดีตเอกอัครราชทูตด้านวัฒนธรรมของกัมพูชาประจำองค์การยูเนสโก ก่อนที่คณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ลงมติเอกฉันท์ให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระราชบิดาประกาศสละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2547


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของกัมพูชามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา แต่การเติบโตก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศคือการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมมีความหลากหลายแต่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ภาคบริการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้าและความบันเทิง มีรายงานว่าพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามแนวชายฝั่ง  ในช่วง พ.ศ. 2538 รัฐบาลพยายามใช้นโยบายที่มีความมั่นคงกับหุ้นส่วน ทำให้เศรษฐกิจมหภาคมีประสิทธิภาพดี การเติบโตใน พ.ศ. 2538 คาดว่าเป็น 7% เพราะมีการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าว การเติบโตทางด้านการปลูกข้าวและการบริการยังคงต่อเนื่อง การนำเข้าเพิ่มขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภายนอกได้ การส่งออกเพิ่มขึ้น 

 หลังจากที่เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งประมาณ 4 ปี เศรษฐกิจของกัมพูชามีการเติบโตอย่างช้าๆในช่วง พ.ศ. 2540 2541 เพราะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาค การต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ การลงทุนของต่างชาติและการท่องเที่ยวลดลง และเกิดภัยแล้งใน พ.ศ. 2541 ใน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่มีสันติภาพอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคเพิ่มขึ้น 4% ผลจากการทำสงครามยาวนานในประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ทักษะในการทำงานรวมทั้งขาดโครงสร้างพื้นฐาน ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในรัฐบาลทำให้การลงทุนลดลง และลดความช่วยเหลือจากต่างชาติลงด้วย






ผลผลิตที่สำคัญของประเทศกัมพูชา

กัมพูชาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น อัญมณีเหล็ก ฟอสเฟส ซิลิคอน ถ่านหิน แมงกานีส น้ำมัน แก๊ส และไม้สัก นอกจากนี้ยังมีแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ บริเวณรอบทะเลสาบโตนเล (Tonle Sap) หรือทะเลสาบ เขมร ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ล้อมรอบด้วยจังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต จังหวัดกัมปงชนัง
 และจังหวัดกัมปงทมที่ปลายทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโตนเลสาบไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสักที่กรุงพนมเปญ ซึ่งห่างจากปลายทะเลสาบ 100 กิโลเมตร บริเวณนี้กระแสน้ำโตนเลสาบจะสลับ ทิศทางการไหลตามฤดูกาล จนได้ชื่อว่าเป็น "River with Return” ปรากฎการณ์นี้ส่งผลให้ท้องน้ำโตนเลสาบในช่วงฤดูน้ำหลากขยายวงกว้างไปจนเกิดเป็นแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และจะค่อยๆ ระบายออกในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ การไหลสลับทิศทางของแม่น้ำยังช่วยให้เกิดการพัดพาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์มาทับถมเป็นบริเวณกว้างก่อให้เกิดพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกบริเวณโดยรอบทะเลสาบ






สกุลเงินของประเทศกัมพูชา



จุดแข็ง
ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์

ข้อควรรู้
ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย

สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ

















ประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิศาสตร์ประเทศอินโดนิเซีย

             สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย อินโดนีเซียมีทั้งหมด 27 จังหวัดและ 2 แคว้นพิเศษ หลังจากที่ชาวดัตช์ ได้เข้ามายึดครองมากกว่า 300 ปี ประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราช จากประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 2492 ประเทศอินโดนีเซียมีหมู่เกาะหลัก 5 เกาะคือ อีเรียน (Irian), ชวา (Java), กาลิมันตัน (Kalimantan), สุลาเวสี (Sulawesi) และสุมาตรา (Sumatra) เกาะชวาเป็นหมู่เกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณ 60% ของประชากร 200 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะนี้
            อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟ และมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วย หนองบึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้
            หมู่เกาะอินโดนีเซียมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์ตะวันออก เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือสุมาตรา กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่บนเกาะชวา 

                                        ภูมิอากาศประเทศอินโดนิเซีย  


              ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่




ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

อินโดนีเซียมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก
มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า
เป็นพื้นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร และทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร 
อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,500 เกาะ
แต่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 3,000 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วนคือ

1) หมู่เกาะซุนดาใหญ่ (Great Sunda Islands)
 ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา กะลิมันตัน และสุลาเวสี  

2) หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) 
ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ล็อมบอก ซุมบาวา ฟอลเรส และติมอร์

3) หมู่เกาะมาลุกุ (Maluku Islands) 
หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ อยู่ระหว่างสุลาเวสีกับเกาะปาปัว 

4) ปาปัว (Papua) 
อยู่บนเกาะนิวกินีทางตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินี ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ คือ
     1) กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว

     2) สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด

     3) ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี

     4) สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด

     5) ชวา และมาดูรา  ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ







เมืองหลวง





ประวัติความเป็นมาของเมืองหลวงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ในพ.ศ. ๒๐๗๐ องค์ถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน
ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากคาลาปาเป็น จายาการ์ตา  แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง ในภาษาชวา
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งของจาการ์ตา ชาวดัตช์มายังจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย (Dutch East India Company) นำโดยยาน ปีเตอร์ซูน โคเอน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาเวีย (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน บาตาเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่๕ ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์
หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ ตอนต้น ความสำคัญของบาตาเวียได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาเวีย ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน
ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาเวียในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งชื่อใหม่เป็นจาการ์ตา เพื่อให้ได้การยอมรับจากท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ป่นพ่ายแพ้ใน พ.ศ. ๒๔๘๘ ชาวดัตช์ยึดครองเมืองใหม่ ทั้งที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชที่สิ้นสุดด้วยการก่อตั้งอินโดนีเซียเมื่อ พ.ศ. 2492

ประชากร 

ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา                                             นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%




ประธานาธิบดี

โจโก วีโดโด (อินโดนีเซีย: Joko Widodo)

                                                         

โจโก วีโดโด (อินโดนีเซีย: Joko Widodo) เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 7 และคนปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซีย เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงจาร์กาตา ก่อนลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2557 สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย ต่อสู้ โดยได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และเข้ารับสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกัน

ด้านชีวิตส่วนตัว โจโก วีโดโด สมรสแล้ว มีบุตร 3 คน และมีความชื่นชอบในดนตรีร็อก โดยเป็นแฟนเพลงของวงเมทัลลิก้า แลมป์ ออฟ ก็อต เลด เซพเพลิน และนาปาล์ม เดธ


สถานการณ์เศรษฐกิจ

ถึงแม้อินโดนีเซียจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน แต่เนื่องจากจำนวนประชากรที่มาก (อันดับ 4 ของโลก) ส่งผลให้รายได้ ประชาชาติต่อหัวของอินโดนีเซียค่อนข้างต่ำ อินโดนีเซียจึงยังถูกจัดให้อยู่ในสถานะของประเทศกำลังพัฒนา

แม้ว่าหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะสามารถเจริญเติบโตได้ อย่างน่าพอใจและมีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยธรรมชาติ (สึนามิ ปี 2547) หรือ ภัยจากการก่อการร้าย (เกาะบาหลี ปี 2545 และ 2548) นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศแบบผูกขาดจาก อดีตประธานาธิบดี ซูฮาโต ประเทศอินโดนีเซียได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศของตนในทุกๆ ด้าน เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้เกิดขึ้นภายใน ประเทศและลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน นอกจากนี้แล้วยังได้ ปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อ เนื่องอีกด้วย เพื่อรองรับต่อการ พัฒนาของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค นโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ มุ่งเน้นการขยายตัวของการ บริโภคในประเทศ  และการลงทุน  เป็น ปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโต
อินโด

ผลผลิตที่สำคัญของอินโดนีเซีย       
  
                ป่าไม้ 
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
                แร่ธาตุ
 แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
               เกษตรกรรม 
มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
               ประมง
 ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำให้อินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

สกุลเงินรูเปียห์
จุดแข็ง
มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
นิยมใช้มือกินข้าว
ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์

งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้