สภาพภูมิประเทศ
ประเทศสหภาพพม่า
มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๗๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร สหภาพพม่าตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ ณ จุดตัดของเส้นรุ้งที่ ๒๒ องศาเหนือ กับเส้นแวงที่ ๙๘ องศาตะวันออก สหภาพพม่าทางตอนล่างติดกับทะเลอันดามัน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
๕ ประเทศ ได้แก่ ด้านตะวันตกติดกับบังคลาเทศและอินเดีย ด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศจีน ด้านตะวันออกติดกับประทศลาวและประเทศไทยรวมเส้นเขตแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
๖,๑๒๕ กิโลเมตร กล่าวคือติดกับบังคลาเทศ ๒๔๔ กิโลเมตร
ติดกับอินเดีย ๑,๓๗๙ กิโลเมตร ติดกับจีน ๒,๑๘๓ กิโลเมตร ติดกับลาว ๒๐๕ กิโลเมตร และติดกับไทย ๒,๑๑๔ กิโลเมตร (บางข้อมูลว่าราว ๒,๔๐๐ กิโลเมตร)
ส่วนที่ติดกับทะเลจากปากแม่น้ำนัตถึงเกาะสองมีระยะทางยาว ๒,๒๒๘
กิโลเมตร ได้แก่ แนวฝั่งยะไข่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ แนวฝั่งริมพื้นที่ปากน้ำอิรวดี
และแนวฝั่งตะนาวศรีทางด้านใต้ของประเทศ
และหากวัดระยะทางจากเหนือสุดลงใต้สุดจะยาวถึง ๒,๐๕๑ กิโลเมตร
และมีระยะกว้างที่สุดถึง ๙๓๖ กิโลเมตร กล่าวกันว่ารูปร่างของประเทศพม่านั้นคล้ายว่าวหางยาว
บ้างว่าคล้ายเพชร และบ้างว่าคล้ายกับคนที่หันหน้าไปทางตะวันออก
สภาพภูมิประเทศของพม่า
ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและเทือกเขาอยู่โดยรอบคล้ายรูปเกือกม้า
กล่าวคือด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นพื้นที่ภูเขา และด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา
ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่ตอนกลางประเทศ บริเวณลุ่มน้ำ
และตลอดแนวชายฝั่งทะเลจากด้านตะวันตกถึงด้านใต้
แนวเทือกเขาในประเทศพม่าจะทอดแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัยในทิศทางจากเหนือลงไปทางใต้เป็น
๓ แนว ได้แก่ ด้านตะวันตกมีเทือกเขานาคะเทือกเขาชินและเทือกเขายะไข่ ซึ่งทอดแนวโค้งคล้ายคันศร มีเทือกเขาพะโคอยู่ตอนกลาง และมีที่ราบสูงฉานสลับแนวเขาอยู่ด้านตะวันออก
พื้นที่สูงและภูเขามีความสูงเฉลี่ยราว ๓,๐๐๐ ฟุต
โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดเขาคากาโบราซีตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ มีความสูงถึง ๑๙,๒๙๖ ฟุต
สภาพภูมิอากาศ
สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon) จำแนกฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู
ได้แก่ ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง ๔๓
องศาเซลเซียส ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน
พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี
มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง ๑๒๐–๒๐๐
นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย ๑๐๐ นิ้วต่อปี
ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง ๒๐–๔๐ นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว ๒๙ นิ้วต่อปี
ส่วนฤดูหนาวนั้นอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๑–๒๙ องศาเซลเซียส
สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย
กล่าวคือในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น
และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด ๔๕
องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ
พื้นที่ตอนกลางของประเทศพม่าจะมีสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าที่อื่น
ตอนบนจะอุดมไปด้วยป่าไม้ และมีฝนตกชุกมากในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตอนล่าง พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของพม่าจะอยู่
ณ บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการปลูกข้าวและผลไม้เมืองร้อน
ประชากรของประเทศพม่า
จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน
ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ
จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%
นายกรัฐมนตรี
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 โดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ซึ่งเป็นคณะทหารที่ปกครองประเทศพม่า แทนที่พลเอกโซ
วิน ผู้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างได้รับการรักษา ก่อนที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างถาวรเมื่อวันที่
24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หลังจากการถึงแก่อนิจกรรมของโซ วินเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.
2550
เต็ง
เส่งมีตำแหน่งเป็นเลขานุการเอกของสภาสันติภาพและความมั่นคงของรัฐ
และเป็นนายพลสูงสุดลำดับที่ 4 ในประเทศ และเป็นผู้ดำเนินการเจรจาระดับสูงกับบังกลาเทศและกัมพูชา
ไม่นานหลังจากที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
เขาก็ได้รับการเลื่อนยศจากพลโทเป็นพลเอก[6] ในระหว่างการเดินทางเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี
เต็ง เส่งยังได้ดำเนินกาารเจรจาระดับสูงกับลาว เวียดนาม และกัมพูชา
เต็ง เส่ง
เศรษฐกิจของประเทศพม่า
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก
เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง
แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน
อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก และทำเหมืองแร่
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา
อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย
เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
แร่ธาตุ ภาคกลางตอนบน
มีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี ภาคตะวันออกเฉียงใต้
ทำเหมืองดีบุก ทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชร และหยกจำนวนมาก
ป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ
ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
สถานการณ์เศรษฐกิจ
นับจากพม่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศในทิศทางที่เสรียิ่งขึ้น
ทำให้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติเพิ่มขึ้นจนได้รับการผ่อนคลายคว่ำบาตรจากประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ได้ส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจพม่าค่อนข้างมาก
ซึ่งช่วงเวลาสอดคล้องกับที่พม่าเร่งปฏิรูปนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น
ทั้งการกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่เป็นที่คาดหมายว่าจะมอบสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น
รวมทั้งการยกเครื่องระบบการเงินของประเทศใหม่โดยเริ่มจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราลอยตัวแบบมีการจัดการ
และการเร่งปรับปรุง ระบบการชำระเงินของประเทศสู่มาตรฐานและความเป็นสากลยิ่งขึ้น
เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อมุมมองและความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติให้หันมาสนใจและแสวงหาโอกาสการเข้าสู่ตลาดพม่าดังเห็น
ได้จากการหลั่งไหลของนักลงทุนต่างชาติเข้าไปในพม่าอย่างคึกคักนับจากช่วงต้นปี 2555
เป็นต้นมา
การนำเข้า
พม่านำเข้าสินค้าจากประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง
และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รองลงมาคือ สิงคโปร์ และไทย สินค้านำเข้าที่สำคัญ
ได้แก่ สินค้าจำพวกเครื่องจักรกล อุปกรณ์ขนส่ง วัตถุดิบการผลิต เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี
2552 นี้ สินค้านำเข้าเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ
ภายหลังพายุนาร์กีซพัดผ่านในเขตตอนใต้ของพม่า รวมทั้ง
พม่ายังต้องการนำมาใช้เพื่อสร้างเมืองหลวงใหม่กรุง “เนย์ปีดอว์”
อีกด้วย
การส่งออก
ประเทศไทยเป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญของพม่า โดยมีสัดส่วนร้อยละ
44.7 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น ต่อมาในปี
2547 เป็นต้นมา การส่งออกให้แก่สหรัฐอเมริกาเริ่มลดน้อยลง
เนื่องจากการคว่ำบาตรสินค้าจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า
สินค้าส่งออกสำคัญของพม่า
ได้แก่ สินค้าเกษตร และสินค้าทรัพยากรธรรมชาติ
เช่น ก๊าซ ไม้สัก เมล็ดพืช ข้าว
ก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากประมง รวมทั้งการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้า
สินค้าส่งออกสำคัญ
คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศ
และเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัวในช่วงปี 2548-2549 และประเทศไทยเป็นประเทศหลักในการนำเข้าก๊าซจากพม่า
และการส่งออกก๊าซได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่สองโครงการของพม่า
คือ โครงการยานาดา และเยตากัน ในอ่าวมะตะบัน และอ่าวเบงกอล
ส่งผลให้พม่าผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติได้มากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2533
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2552 นี้ ยอดการส่งออกก๊าซธรรมชาติลดลง เนื่องจากประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดสำคัญ
มีความต้องการใช้ก๊าซน้อยลง รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตน้ำมันโลกด้วย
สกุลเงิน
จ๊าด (Kyat) เป็นสกุลเงินของประเทศพม่า
* 26 จ๊าดเท่ากับประมาณ 1 บาทไทย
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น
ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย)
ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น