ภูมิศาสตร์ประเทศกัมพูชา
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 75 เป็นที่ราบรอบทะเลสาบเขมรและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ติดต่อกับเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาดมเร็ย ทางเหนือคือเทือกเขาพนมดงรัก ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่สูงเชื่อมต่อกับที่ราบสูงในภาคใต้ของเวียดนาม เทือกเขาบรรทัดทางตะวันตกเฉียงใต้มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดของกัมพูชาคือยอดเขาพนมเอารัล สูง 1,771 เมตร อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขานี้ เทือกเขาดมเร็ยเป็นเทือกเขาที่ต่อมาจากเทือกเขาบรรทัดทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ สูงระหว่าง 500 - 1,000 เมตร เทือกเขาทั้งสองนี้เป็นแนวพรมแดนด้านตะวันตก
ทำให้เกิดที่ราบแคบๆซึ่งประกอบด้วยอ่าวกำปงโสมที่ออกสู่อ่าวไทย บริเวณนี้ค่อนข้างโดดเดี่ยว จนกระทั่งมีการสร้างท่าเรือที่กำปงโสมและมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกำปงโสม กำปอต ตาแกว และพนมเปญเข้าด้วยกันเมื่อราว พ.ศ. 2503
เทือกเขาพนมดงรักเป็นเทือกเขาทางเหนือของกัมพูชามีความสูงโดยเฉลี่ย 500 เมตร โดยจุดที่สูงที่สุดสูงกว่า 700 เมตร อยู่ขอบด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราชในไทย เทือกเขานี้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จุดผ่านเทือกเขาที่สำคัญคือจุดโอเสม็ด ซึ่งเชื่อมต่อภาคเหนือของกัมพูชากับภาคอีสานของไทย หุบเขาในเขตแม่น้ำโขงเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อระหว่างกัมพูชาและลาว และเป็นส่วนที่แบ่งระหว่างเทือกเขาพนมดงรักทางตะวันออกและที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ที่ต่ำลงมาเชื่อมต่อกับที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่แผ่ขยายไปสู่เวียดนาม ทำให้มีการติดต่อระหว่างดินแดนทั้งสองโดยสะดวก
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
กัมพูชาเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ติดกับอ่าวไทย มีพรมแดนติดกับลาว ไทยและเวียดนาม พิกัดทางภูมิศาสตร์โดยประมาณคือ11°N 104°E11°N 104°E แนวชายแดนมีความยาวทั้งหมด 2,572 กิโลเมตร โดยติดกับเวียดนาม 1,228 กิโลเมตร ไทย 803 กิโลเมตร และลาว 541 กิโลเมตร เป็นแนวชายฝั่ง 443 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,040 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ใจกลางของประเทศเป็นทะเลาสาบเขมร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือไปใต้
ภูมิอากาศในกัมพูชาเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเขตร้อนชื้น มีฤดูฝนและฤดูแล้ง ในฤดูฝนจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียพาฝนมาตก และในฤดูแล้งจะมีมรสุมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ที่นำอากาศแห้งแล้งมาให้ ลักษณะอากาศในทะเลสาบเขมรอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25- 28°C ในฤดูร้อนอาจสูงถึง 38 °C ได้ ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร ฝนตกหนักมากทางตะวันออกเฉียงใต้และตามแนวเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ ค่าความชื้นเฉลี่ยทั้งปีค่อนข้างสูง
เมืองหลวง
ประวัติความเป็นมาของเมืองหลวง
กรุงพนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก ช่วงกลางลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานี
กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่ เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement)
ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ
ประชากร
ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศกัมพูชามีประชากร 15,205,539 คน กว่าร้อยละ 90 มีเชื้อสายเขมรและพูดภาษาเขมรอันเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศได้แก่ชาวเวียดนาม ร้อยละ 5 และชาวจีน ร้อยละ 1 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายไทยในจังหวัดเกาะกง ชาวจามในจังหวัดกำปงจามและจังหวัดกระแจะ ชาวลาวในจังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดสตึงแตรง และชนเผ่าทางตอนเหนือต่อชายแดนประเทศลาวที่เรียกรวม ๆ ว่า แขมรเลอ อัตราการเกิดของประชากรเท่ากับ 25.4 ต่อ 1,000 คน อัตราการเติบโตของประชากรเท่ากับ 1.7% สูงกว่าของประเทศไทย, เกาหลีใต้ และอินเดียอย่างมีนัยยะสำคัญ
กษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุกับสมเด็จพระราชินีนโรดม มุนีนาถ สีหนุ อดีตเอกอัครราชทูตด้านวัฒนธรรมของกัมพูชาประจำองค์การยูเนสโก ก่อนที่คณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ลงมติเอกฉันท์ให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระราชบิดาประกาศสละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2547
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของกัมพูชามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา แต่การเติบโตก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศคือการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมมีความหลากหลายแต่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ภาคบริการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้าและความบันเทิง มีรายงานว่าพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามแนวชายฝั่ง ในช่วง พ.ศ. 2538 รัฐบาลพยายามใช้นโยบายที่มีความมั่นคงกับหุ้นส่วน ทำให้เศรษฐกิจมหภาคมีประสิทธิภาพดี การเติบโตใน พ.ศ. 2538 คาดว่าเป็น 7% เพราะมีการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าว การเติบโตทางด้านการปลูกข้าวและการบริการยังคงต่อเนื่อง การนำเข้าเพิ่มขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภายนอกได้ การส่งออกเพิ่มขึ้น
หลังจากที่เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งประมาณ 4 ปี เศรษฐกิจของกัมพูชามีการเติบโตอย่างช้าๆในช่วง พ.ศ. 2540 – 2541 เพราะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาค การต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ การลงทุนของต่างชาติและการท่องเที่ยวลดลง และเกิดภัยแล้งใน พ.ศ. 2541 ใน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่มีสันติภาพอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคเพิ่มขึ้น 4% ผลจากการทำสงครามยาวนานในประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ทักษะในการทำงานรวมทั้งขาดโครงสร้างพื้นฐาน ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในรัฐบาลทำให้การลงทุนลดลง และลดความช่วยเหลือจากต่างชาติลงด้วย
ผลผลิตที่สำคัญของประเทศกัมพูชา
กัมพูชาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น อัญมณีเหล็ก ฟอสเฟส ซิลิคอน ถ่านหิน แมงกานีส น้ำมัน แก๊ส และไม้สัก นอกจากนี้ยังมีแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ บริเวณรอบทะเลสาบโตนเล (Tonle Sap) หรือทะเลสาบ เขมร ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ล้อมรอบด้วยจังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต จังหวัดกัมปงชนัง
และจังหวัดกัมปงทมที่ปลายทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโตนเลสาบไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสักที่กรุงพนมเปญ ซึ่งห่างจากปลายทะเลสาบ 100 กิโลเมตร บริเวณนี้กระแสน้ำโตนเลสาบจะสลับ ทิศทางการไหลตามฤดูกาล จนได้ชื่อว่าเป็น "River with Return” ปรากฎการณ์นี้ส่งผลให้ท้องน้ำโตนเลสาบในช่วงฤดูน้ำหลากขยายวงกว้างไปจนเกิดเป็นแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และจะค่อยๆ ระบายออกในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ การไหลสลับทิศทางของแม่น้ำยังช่วยให้เกิดการพัดพาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์มาทับถมเป็นบริเวณกว้างก่อให้เกิดพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกบริเวณโดยรอบทะเลสาบ
สกุลเงินของประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น