Veitnam

ภูมิศาสตร์ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีรูปร่างตัวเอส ลักษณะเป็นแนวยาว จึงทำให้ทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศแตกต่างกว่าประเทศอินโดจีนอื่นๆ

สภาพภูมิประเทศ

 ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มีลักษณะเป็นแนวยาว โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน และมีหมู่เกาะต่างๆ อีบพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
 เวียดนามมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงอยู่ทางตอนเหนือและที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ทางตอนใต้ และตอนเหนือของประเทศมีที่ราบสูง มีภูเขาฟาน ซี ปัง  ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน มีความสูงถึง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต) ตั้งอยู่ในจังหวัดเลาไค

 ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งเขตเป็น 3 ภาค ดังนี้
 1.ภาคเหนือ
มีภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูง มีแม่น้ำกุง ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
 2.ภาคกลาง
ยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้สำคัญที่สุดของเวียดนาม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม-เมษายน)
 3.ภาคใต้
มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และมีที่ราบลุ่มสำคัญ คือ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กู๋ลองยาง” ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม


ภูมิอากาศ
เวียดนาม อยู่ในเขตลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ อากาศในเวียดนามมี 2 ฤดู คือ ฤดูหนาวและ ฤดูร้อน

ฤดูหนาว   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ตอนเหนือของเวียดนามมีกระแสลมจากขั้วโลกเหนือพัดผ่าน ทำให้อากาศเย็นจนถึงเย็นจัด (อุณหภูมิต่ำสุด 0 องศา) 

ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ช่วงที่อากาศร้อนที่สุดคือ เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในฤดูร้อนมักมีลมพายุและฝนตกหนัก ในภาคเหนือเ่เละภาคกลางมักมีพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดความเสียหายบ่อย ๆ

ภาคกลางของเวียดนาม อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค เช่น ในจังหวัดที่อยู่ตอนเหนือของภาค อากาศดีแถบบริเวณสันดอนปากแม่น้ำแดง ส่วนทางตอนใต้ของภาคกลางมีอากาศแบบสันดอนปากแม่น้ำโขงคือ มีฝนชุกและฤดูฝนยาวนานกว่าภาคอื่น

ภาคใต้ของเวียดนาม มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (เดือนมีนาคมถึงเมษายน)











เมืองหลวงประเทศกัมพูชา



ประวัติ กรุงฮานอย 

ฮานอย เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงานหัตถกรรม
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง
        "ฮานอย" หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า "ทังล็อง" แปลว่า "มังกรเหิน" จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนของฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน







พระมหากษัตริย์


จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย 

ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13 และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2488 ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอันนัมในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งขณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ในช่วงนี้พระองค์ทรงได้รับความคุ้มครองจากฝรั่งเศสโดยอินโดจีนของฝรั่งเศส พระองค์ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2475 เมื่อมีพระชนมายุ 19 พรรษา ต่อมาญี่ปุ่นได้ทำการขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนนี้ในปีพ.ศ. 2488 และใช้อำนาจการปกครองผ่านจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในช่วงนี้พระองค์ทรงตั้งชื่อประเทศใหม่ว่า "เวียดนาม" พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม
พระองค์ทรงเป็นหัวหน้ารัฐในเวียดนามใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 จนกระทั่ง พ.ศ. 2498 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงมีความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสและเสด็จประทับต่างประเทศบ่อยครั้ง นายโง ดิ่ญ เสี่ยม นายกรัฐมนตรีได้ขับไล่พระองค์ในการลงประชามติปลดจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากราชบัลลังก์เมื่อปีพ.ศ. 2498


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 [15]

แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991




เกษตรกรรม
มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย 
(ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 
ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์










ผลผลิตที่สำคัญ
     อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย


อุตสาหกรรมที่สำคัญเวียดนาม
       เวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบรายสำคัญของภูมิภาคในปี 2550 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 15,522 พันตัน โดยส่งออกเกือบทั้งหมด เพราะเวียดนามไม่มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศและนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ จากต่างประเทศ บริเวณที่มีน้ำมันอยู่มาก คือ สามเหลี่ยม แม่น้ำโขง
 ด้านการส่งออก ในปี 2550 เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบ 15,081 พันตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.1 คิดเป็นมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ และจีน ขณะที่เวียดนามนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจำนวน 12,554 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 คิดเป็นมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเพราะเวียดนามใช้รถยนต์และจักรยานยนต์สูงขึ้น รวมทั้งใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่างๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่านำเข้ามาจากสิงคโปร์  ที่เหลือจากจีน รัสเซีย และไทย เป็นต้น






     
    สกุลเงินของประเทศเวียดนาม ด่ง


                                   




จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต

– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น