ลักษณะภูมิประเทศ
มาเลเซียตะวันตก
ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่ บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม
มาเลเซียตะวันออก
ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณหภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ์
เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย
ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์
คือนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซียคน ที่ 6 และคนปัจจุบัน ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอับดุลละห์ บาดาวี อีกด้วย
กษัตริย์ของประเทศมาเลเซีย
สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม
เป็นสุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 27
พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
ณ พระราชวังแห่งอลอร์สตาร์ เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์
พระองค์เป็นพระราชโอรสของ Sultan Badlishah สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 26 (1943–1958) และพระมารดา Tunku Sofiah binti Tunku Mahmud ผู้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุก่อนที่พระราชบิดาจะขึ้นครองราชย์
สถานการณ์ทางเศษฐกิจ
นโยบายเศรษฐกิจของมาเลเซียมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาประเทศให้เป็น ประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ที่เน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงควบคู่ไปกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์
มาเลเซียยังได้วางนโยบายเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020
คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น “ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและไม่ มีประสิทธิภาพลง และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิต
สภาพเศรษฐกิจโดยรวม
อัตราการเติบโต GDP เฉลี่ยร้อยละ 6 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2551) ในปี 2552 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ -2.4 แต่รัฐบาลคาดหวังว่าหลังจากการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2551-2552 แล้ว ประเทศมาเลเซียจะกลับมาเติบโตในอัตราเดิมได้ต่อไป โดยสถาบันด้านเศรษฐกิจคาดว่า ปี 2553 เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 - 4.2
ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน ป่าไม้ ทองแดง และแก๊ซธรรมชาติ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
ได้แก่ สินค้าอิเลคทรอนิกส์ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไทย
สกุลเงินของมาเลเซีย
ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย
เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR).
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ลักษณะภูมิประเทศ
มาเลเซียตะวันตก
ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่ บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม
มาเลเซียตะวันออก
ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณหภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ์
เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย
ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์
คือนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซียคน ที่ 6 และคนปัจจุบัน ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอับดุลละห์ บาดาวี อีกด้วย
กษัตริย์ของประเทศมาเลเซีย
สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม
เป็นสุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 27
พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
ณ พระราชวังแห่งอลอร์สตาร์ เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์
พระองค์เป็นพระราชโอรสของ Sultan Badlishah สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 26 (1943–1958) และพระมารดา Tunku Sofiah binti Tunku Mahmud ผู้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุก่อนที่พระราชบิดาจะขึ้นครองราชย์
สถานการณ์ทางเศษฐกิจ
นโยบายเศรษฐกิจของมาเลเซียมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาประเทศให้เป็น ประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ที่เน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงควบคู่ไปกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์
มาเลเซียยังได้วางนโยบายเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020
คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น “ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและไม่ มีประสิทธิภาพลง และให้ความสำคัญต่อประเด็นใหม่คือ การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิต
สภาพเศรษฐกิจโดยรวม
อัตราการเติบโต GDP เฉลี่ยร้อยละ 6 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2551) ในปี 2552 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ -2.4 แต่รัฐบาลคาดหวังว่าหลังจากการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2551-2552 แล้ว ประเทศมาเลเซียจะกลับมาเติบโตในอัตราเดิมได้ต่อไป โดยสถาบันด้านเศรษฐกิจคาดว่า ปี 2553 เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 - 4.2
ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน ป่าไม้ ทองแดง และแก๊ซธรรมชาติ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
ได้แก่ สินค้าอิเลคทรอนิกส์ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไทย
สกุลเงินของมาเลเซีย |
ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย
เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR).
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น