Indonesia

ภูมิศาสตร์ประเทศอินโดนิเซีย

             สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย อินโดนีเซียมีทั้งหมด 27 จังหวัดและ 2 แคว้นพิเศษ หลังจากที่ชาวดัตช์ ได้เข้ามายึดครองมากกว่า 300 ปี ประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราช จากประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 2492 ประเทศอินโดนีเซียมีหมู่เกาะหลัก 5 เกาะคือ อีเรียน (Irian), ชวา (Java), กาลิมันตัน (Kalimantan), สุลาเวสี (Sulawesi) และสุมาตรา (Sumatra) เกาะชวาเป็นหมู่เกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณ 60% ของประชากร 200 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะนี้
            อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟ และมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วย หนองบึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้
            หมู่เกาะอินโดนีเซียมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์ตะวันออก เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือสุมาตรา กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่บนเกาะชวา 

                                        ภูมิอากาศประเทศอินโดนิเซีย  


              ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่




ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

อินโดนีเซียมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก
มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า
เป็นพื้นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร และทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร 
อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,500 เกาะ
แต่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 3,000 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วนคือ

1) หมู่เกาะซุนดาใหญ่ (Great Sunda Islands)
 ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา กะลิมันตัน และสุลาเวสี  

2) หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) 
ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ล็อมบอก ซุมบาวา ฟอลเรส และติมอร์

3) หมู่เกาะมาลุกุ (Maluku Islands) 
หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ อยู่ระหว่างสุลาเวสีกับเกาะปาปัว 

4) ปาปัว (Papua) 
อยู่บนเกาะนิวกินีทางตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินี ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ คือ
     1) กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว

     2) สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด

     3) ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี

     4) สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด

     5) ชวา และมาดูรา  ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ







เมืองหลวง






ประวัติความเป็นมาของเมืองหลวงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ในพ.ศ. ๒๐๗๐ องค์ถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน
ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากคาลาปาเป็น จายาการ์ตา  แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง ในภาษาชวา
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งของจาการ์ตา ชาวดัตช์มายังจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย (Dutch East India Company) นำโดยยาน ปีเตอร์ซูน โคเอน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาเวีย (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน บาตาเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่๕ ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์
หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ ตอนต้น ความสำคัญของบาตาเวียได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาเวีย ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน
ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาเวียในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งชื่อใหม่เป็นจาการ์ตา เพื่อให้ได้การยอมรับจากท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ป่นพ่ายแพ้ใน พ.ศ. ๒๔๘๘ ชาวดัตช์ยึดครองเมืองใหม่ ทั้งที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชที่สิ้นสุดด้วยการก่อตั้งอินโดนีเซียเมื่อ พ.ศ. 2492

ประชากร 

ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา                                             นับถือศาสนา : อิสลาม 87%คริสต์ 10%




ประธานาธิบดี

โจโก วีโดโด (อินโดนีเซีย: Joko Widodo)

                                                          

โจโก วีโดโด (อินโดนีเซีย: Joko Widodo) เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 7 และคนปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซีย เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงจาร์กาตา ก่อนลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2557 สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย – ต่อสู้ โดยได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และเข้ารับสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกัน



สถานการณ์เศรษฐกิจ

ถึงแม้อินโดนีเซียจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน แต่เนื่องจากจำนวนประชากรที่มาก (อันดับ 4 ของโลก) ส่งผลให้รายได้ ประชาชาติต่อหัวของอินโดนีเซียค่อนข้างต่ำ อินโดนีเซียจึงยังถูกจัดให้อยู่ในสถานะของประเทศกำลังพัฒนา

แม้ว่าหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะสามารถเจริญเติบโตได้ อย่างน่าพอใจและมีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยธรรมชาติ (สึนามิ ปี 2547) หรือ ภัยจากการก่อการร้าย (เกาะบาหลี ปี 2545 และ 2548) นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศแบบผูกขาดจาก อดีตประธานาธิบดี ซูฮาโต ประเทศอินโดนีเซียได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศของตนในทุกๆ ด้าน เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้เกิดขึ้นภายใน ประเทศและลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน นอกจากนี้แล้วยังได้ ปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อ เนื่องอีกด้วย เพื่อรองรับต่อการ พัฒนาของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค นโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ มุ่งเน้นการขยายตัวของการ บริโภคในประเทศ  และการลงทุน  เป็น ปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโต
อินโด

ผลผลิตที่สำคัญของอินโดนีเซีย       
  
                ป่าไม้ 
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
                แร่ธาตุ
 แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
               เกษตรกรรม 
มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
               ประมง
 ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำให้อินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

สกุลเงินรูเปียห์
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์

– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น