ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ
คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่น ๆ ยังได้แก่ แม่น้ำอู (พงสาลี-หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
สปป.ลาว เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล (Landlocked) โดยมีด้านทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแนวเขตแดนยาว 505 กม. ทิศใต้ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา แนวเขตแดนยาว 435 กม. ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แนวเขตแดนยาว 2,069 กม. และทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย แนวเขตแดนยาว 1,810 กม. และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แนวเขตแดนยาว 236 กม. โดยมีพื้นที่ 236,800 ตร.กม. หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้ สปป.ลาว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เป็นเขาและที่ราบสูง โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 50,000 ตร.กม. หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูมิอากาศ
สปป.ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุสำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขาอากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีประมาณ 15-30 องศาเซลเซียส โดยความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนประมาณ10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) ร้อยละ 75-90 ส่วนช่วงฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน) มีปริมาณน้ำฝนเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่ละเขตก็แตกต่างกันอย่างมาก เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง และแขวงไชยบุรี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันทน์และแขวงสุวรรณเขต ได้รับ 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
เมืองหลวงลาว – กรุงเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว หรือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเมืองที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาวใกล้กับจังหวัดหนองคายของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในเมืองหลวงอาเซียนในปัจจุบัน โดยเวียงจันทน์มีพรมแดนติดกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ประวัติของเมืองหลวงลาว – กรุงเวียงจันทน์
เมืองหลวงลาว หรือ กรุงเวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ที่คนลาวนิยมเรียก เป็นเมืองที่มีประวัติย้อนหลังอันยาวนาน โดยถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2321 ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย และตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2436 ก่อนจะประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ซึ่งตลอดเวลาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้างจนถึงปัจจุบัน นครเวียงจันทน์ได้รับการยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตลอดมา
ลักษณะทั่วไปของเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศในเขตลุ่มน้ำโขง มีที่ตั้งตามพิกัดสากลที่ 17°58′ เหนือ, 102°36′ ตะวันออก มีประชากรทั้งแบบลงทะเบียนและไม่ลงทะเบียนแน่นอนราว 700,000 คน
เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ จึงมีการแบ่งเป็นเขตพื้นที่ย่อยทั้งหมด 5 เขต เพื่อง่ายต่อการบริหาร (เหมือนการแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร) คือ เขตจันทบุรี เขตศรีโคตรบอง เขตไชยเชษฐา เขตศรีสัตตนาค และเขตหาดทรายฟอง
เวียงจันทน์นอกจากจะเป็นเมืองหลวงลาวแล้ว ยังเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง ศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การศึกษา และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
เวียงจันทน์เป็นเมืองที่สวยงาม มีศิลปะวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดวาอารามและอนุสรณ์สถานต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งของอาเซียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายด้านการกินการอยู่ก็ไม่สูง การเดินทางสะดวก รถราก็ไม่ติดเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ
แหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในเวียงจันทน์
- ประตูชัย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะและการประกาศเอกราชจากการยึดครองโดยฝรั่งเศส
การเดินทางจากประเทศไทย
เราสามารถเดินทางจากประเทศไทยไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ได้หลายวิธีและหลายเส้นทาง เช่นทางรถยนต์ สามารถใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามพรมแดนที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย เพียงไม่กี่นาทีก็ถึงเวียงจันทน์ ถ้าจะเดินทางด้วยรถโดยสาร ก็มีรถโดยสารให้บริการที่สถานีขนส่งจังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬและสถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานีเดินทางไม่นานก็ถึงเมืองหลวงลาวแห่งนี้ได้เช่นกัน สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินนั้นนับว่าสะดวกสบายที่สุด เพียงชั่วโมงเดียวจากกรุงเทพเท่านั้น มีสายการบินให้บริการหลายสายการบิน เช่น การบินไทย นกแอร์และแอร์เอเชีย เป็นต้น
เศรษฐกิจลาว
เศรษฐกิจของประเทศลาวเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลลดการควบคุมจากส่วนกลางและกระตุ้นการลงทุนของเอกชนตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ลาวเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานและส่งไปขายให้จีน เวียดนาม และไทยแม้จะยังเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประวัติ
หลังจากเข้าสู่อำนาจใน พ.ศ. 2518 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้นำระบบเศรษฐกิจแบบโซเวียตมาใช้ โดยแทนที่การลงทุนของเอกชนด้วยการลงทุนของรัฐและสหกรณ์ การลงทุนมาจากศูนย์กลางทั้งการผลิต การค้าและการกำนดราคา และสร้างระบบกั้นขวางการค้าภายในกับภายนอกประเทศ หลังจากใช้ระบบเศรษฐกิจนี้ไปไม่นาน พบว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจนต้องมีการปฏิรูป เปลี่ยนการกำหนดราคาจากการกำหนดโดยรัฐมาเป็นมาเป็นตามกลไกตลาด อนุญาตให้เกษตรกรยึดครองที่ดินและขายผลผลิตทางการเกษตรได้ ยกเลิกการกีดกันสินค้าจากภายนอก
ใน พ.ศ. 2532 ลาวได้บรรลุข้อตกลงกับธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจ สนับสนุนการลงทุนของเอกชน ลาวยอมรับความช่วยเหลือจากออสเตรเลียในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับหนองคาย ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ พ.ศ. 2540 ลาวได้รับผลกระทบโดยค่าเงินกีบลดลง ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเงินฝืดซึ่งทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพใน พ.ศ. 2543
นอกจากการเพาะปลูกทางการเกษตรแล้ว ในลาวมีการลงทุนทางอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ เช่น เครื่องยนต์ เบียร์ กาแฟ และการท่องเที่ยว โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ญี่ปุ่นและเยอรมัน
เกษตรกรรม
ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าว ซึ่งมีผลผลิตคิดเป็น 51% ของจีดีพี การออมภายในประเทศต่ำ ทำให้ลาวต้องได้รับความช่วยเหลือและการลงทุนจากต่างประเทศ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่มันเทศ ผัก ข้าวโพด กาแฟ อ้อย ยาสูบ ชา ฝ้าย ถั่วลิสง ข้าว ควาย หมู สัตว์เคี้ยวเอื้อง ใน พ.ศ. 2542 การลงทุนจากต่างประเทศคิดเป็นมากกว่า 20% ของจีดีพี และมากกว่า 75% ของการลงทุนภายในประเทศ
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวจัดเป็นอุตสาหกรรมที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในลาว หลังการเปิดประเทศเมื่อ พ.ศ. 2533 ลาวเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
กีบ (สกุลเงิน)
กีบ (ลาว: ກີບ) เป็นหน่วยเงินของประเทศลาว (รหัสสากลตาม ISO 4217 อักษรย่อ LAK) หนึ่งกีบมี 100 อัด (ลาว: ອັດ) ในปี พ.ศ. 2522 เกิดการปฏิรูปค่าเงินขึ้น โดยเปลี่ยน 100 กีบแบบเก่าให้เท่ากับ 1 กีบในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คือ 1 ยูโร เท่ากับ 13,636 กีบ และ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 10,500 กีบ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น